หญิง | อายุ 21 ปี
เสี่ยงต่อโรคทางอารมณ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน (Mood disorder with psychotic feature unspecified)
- วิตกกังวล
- คิดมาก
- หยุดคิดไม่ได้
- +4
ฉีดยาfendec แล้วง่วงนอนตลอดเลย อยากทราบค่ะ ถ้าหยุดฉีด จะกลับมาเป็นปกติไหมคะ ง่วงเป็นเดือนแล้วค่ะ
0
คำตอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ชนาธิป ทองยงค์
(แก้ไขการตอบกลับ 14:28 น., 8 พ.ค. 2566)
สวัสดีครับคุณ 80630 ก่อนอื่นเลยผมต้องขอขอบคุณที่คุณเลือกขอคำปรึกษาก่อนการหยุดยาด้วยตนเองนะครับ ผมขออนุญาตแสดงความเห็นใจที่ตอนนี้คุณมีภาวะง่วงนอนตลอดด้วยครับ เข้าใจว่ามันน่าจะกระทบการใช้ชีวิตไม่น้อยเลยทีเดียว โดยทั่วไปแล้วยา Fendec หรือ Fluphenazine Decanoate นั้น สามารถพบอาการง่วงนอนมากกว่าปกติได้ครับ (ถึงแม้ว่าจะเป็นสัดส่วนที่น้อยก็ตาม) โดยปกติแล้วร่างกายจะมีการปรับตัวต่อยาดังกล่าวภายในระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เมื่อพ้นระยะเวลานั้นแล้ว ตามทฤษฎีภาวะง่วงกลางวันจะค่อยๆลดลงครับ อย่างไรก็ตาม หากได้รับการวินิจฉัยโดยจิตแพทย์ว่าภาวะง่วงกลางวันมากเกินไปนั้นเป็นผลโดยตรงจากยาดังกล่าว หากทำการหยุดยาแล้ว ยาจะหมดไปจากร่างกายภายในเวลาประมาณ 70 วันครับ (เทียบเท่าจำนวน 5 ครึ่งชีวิตของยา) และร่างกายจะกลับเป็นปกติครับ อย่างไรก็ตามหากภาวะดังกล่าวไม่หายไป แสดงว่าภาวะง่วงกลางวันนั้นเกิดมาจากสาเหตุอื่น ซึ่งต้องทำการตรวจวินิจฉัยต่อไปครับ เบื้องต้นผมแนะนำให้คุณปรึกษากับจิตแพทย์ผู้ดูแลครับ เนื่องจากหากภาวะง่วงกลางวันดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยเป็นทุกข์หรือกระทบการใช้ชีวิตอาจจำเป็นที่จะต้องมีการมองหาทางเลือกยาฉีดเพื่อคุมอาการตัวอื่นๆที่ออกฤทธิ์นานเช่นกัน (กลุ่ม Long-acting injectable antipsychotics) เนื่องจากมียาฉีดชนิดอื่นที่อาจส่งผลต่อการง่วงนอนกลางวันน้อยกว่าตัวดังกล่าว แต่ก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป การหารือร่วมกับจิตแพทย์เพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมจึงเป็นประโยชน์สูงสุดครับ ระหว่างรอถึงวันนัดพบจิตแพทย์นั้น แนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงการขับรถ การใช้เครื่องจักร หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ระดับการตื่นตัวและสมาธิสูง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะง่วงดังกล่าวครับ นอกเหนือจากนี้ผมจะขออนุญาตอธิบายเกี่ยวกับภาวะง่วงนอนช่วงกลางวันมากเกินไป (Excessive Daytime Sleepiness และ Hypersomnic disorders) ก่อนนะครับ และผมจะพูดถึงตัวยา Fendec ต่อไปนะครับ ภาวะง่วงนอนช่วงกลางวันมากเกินไปนั้นพบได้เยอะครับ อาจพบได้สูงมากขึ้น 25% ในประชากรเลย ภาวะดังกล่าวมีอาการที่คล้ายคลึงกันกับ ภาวะเหนื่อย/ไม่มีแรง (Fatigue, Lack of energy) ซึ่งมีความจำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคกันเนื่องจากมีแนวทางการจัดการที่แตกต่างกันออกไปครับ (ตัวอย่างของคำถามที่แยกกัน เช่น หากรู้สึกง่วงเวลานั่งอ่านหนังสือนานๆ หรือ รู้สึกง่วงเวลาออกไปเดินเล่นนานๆ จะใกล้เคียงกับภาวะง่วงกลางวันมากเกินไป และภาวะเหนื่อย/ไม่มีแรง ตามลำดับครับ) โดยสาเหตุของภาวะง่วงกลางวันมากเกินไปนั้นมีได้หลายอย่างเลยครับ เช่น การมีชั่วโมงการนอนช่วงกลางคืนไม่พอ, การนอนไม่หลับ, การนอนไม่มีคุณภาพ, การสูบบุหรี่, ภาวะทางจิตเวชเอง (เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล), การมีอาการทางกาย (เช่น ปวด), การนอนกรน, ภาวะน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์, หรือ ยา เป็นต้นครับ
1
© 2020 Agnos