thumbs-up
อยากทราบว่าจากผลการวิเคราะห์AIข้างต้น หนูจะต้องเข้าพบแพทย์โดยด่วยหรือไม่คะ แล้วหากต้องเข้าพบแพทย์จะสามารถเข้าพบแพทย์ได้ที่ไหนบ้างคะ หรือเริ่มต้นการเข้ารับการรักษาอย่างไรคะ หากใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีนหรือแอมเฟตามีนมาเป็นระยะเวลานาน
  • thumbs-up

    คำตอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

    profile-img

    ชนาธิป ทองยงค์

    (แก้ไขการตอบกลับ 06:18 AM false, Jun 18, 2024)

    จากข้อมูลที่คุณ 111870 ให้กับ AI นั้น ผมคิดว่ามีข้อบ่งชี้ในการพบแพทย์อย่างเร่งด่วนครับ เนื่องจากมีภาวะอันตราย (ความเสี่ยงการเกิดอันตรายต่อตนเอง) โดยเบื้องต้นหากคุณพบว่าไม่สามารถจัดการความคิดอยากฆ่าตัวตายได้ สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่ห้องฉุกเฉินใกล้บ้านได้เลยครับ อย่างไรก็ตามหากมีข้อจำกัดของการเข้าถึงการรักษาดังกล่าว คุณสามารถโทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิตที่เบอร์ 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ สำหรับตัวแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนนั้น เป็นสารเสพติดชนิดกระตุ้นและสามารถทำให้เกิดความผิดปกติของอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม ได้อย่างหลากหลายครับ นอกจากนั้นการใช้สารอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมอง (อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้สามารถที่จะกลับคืนมาได้หากเลิกขาดเป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 ปีโดยประมาณครับ) ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการเลิกขาดด้วยตัวเองได้ครับ การเริ่มต้นการรักษาสามารถเป็นไปได้เสมอครับ ผมต้องขอชื่นชมคุณ 111870 ที่มีความตั้งใจในการเข้ารับการบำบัดนะครับ การใช้ชีวิตอยู่โดยที่ไม่มีสารเสพติดหลังจากที่ใช้มาเป็นระยะเวลานานนั้นเป็นไปได้ครับ การทำงานร่วมกันระหว่างคุณและจิตแพทย์ จะช่วยให้ระยะห่างระหว่างตัวเราและสารเสพติดมากขึ้นเรื่อย พอเริ่มมีระยะห่าง เราจะเริ่มมองเห็นข้อดีของชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งพามันนั้นมันคุ้มค่าที่จะบำบัดครับ โดยการเข้ารับการบำบัด สามารถเข้าถึงการรักษาทั้งในภาคเอกชนและในภาครัฐบาลครับ ผมขออนุญาตให้รายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาเรื่องสารเสพติดในภาคส่วนรัฐบาลนะครับ 1.เบื้องต้น คุณสามารถเช็คสิทธิการรักษาของตัวเองได้ที่ https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml เพื่อค้นหาโรงพยาบาลที่สิทธิรักษาเราสังกัดอยู่ เพื่อลดภาระการแบกรับค่าใช้จ่ายครับ (เนื่องจากหากเข้ารับการรักษาไม่ตรงตามสิทธิอาจจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับกรณีไม่ฉุกเฉินครับ) 2.ติดต่อเพื่อเข้าพบจิตแพทย์ โดยหากสถานพยาบาลดังกล่าวนั้นไม่มีจิตแพทย์แล้ว สถานพยาบาลนั้นอาจให้การประเมินและการรักษาเบื้องต้นก่อน และหากเกินศักยภาพไป สถานพยาบาลนั้นจะทำการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้ได้พบกับจิตแพทย์ต่อไปครับ 3.จิตแพทย์จะทำการประเมินวินิจฉัยและวางแผนการรักษาร่วมกันกับผู้ป่วยครับ 4.การรักษาภาวะการใช้สารเสพติดนั้นจะประกอบไปด้วย 4.1การถอนพิษ (Detoxification เพื่อกำจัดสารเสพติดที่หลงเหลืออยู่ในร่างกาย และมีการใช้ยาหรือสารน้ำเพื่อลดความรุนแรงของอาการถอนพิษ เช่น อาการกระสับกระส่าย ความกระหาย เหงื่อแตก ปวดเมื่อยตามตัว อารมณ์ที่หงุดหงิดอ่อนไหว) 4.2.การทำบำบัดฟื้นฟู (Rehabiliation) ครับ ซึ่งกระบวนการและระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่และข้อจำกัดครับ

    thumbs-up

    1

Related Doctors

doctor-image
icon

0

icon

208

icon

0

รณชัย คงสกนธ์

หมอจิตเวช

+ 1

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

186

icon

0

กิตติ สกาวรัตนโยธิน

หมอจิตเวช

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

31

icon

0

โชติมันต์ ชินวรารักษ์

หมอจิตเวช

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

38

icon

0

พันตรี เกิดโชค

หมอจิตเวช

+ 1

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

29

icon

0

ชัชวาลย์ ศิลปกิจ

หมอจิตเวช

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

144

icon

0

โกวิทย์ นพพร

หมอจิตเวช

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

66

icon

0

ธันยา วิชัยโกศล

หมอจิตเวช

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

13

icon

0

ไพฑูรย์ สมุทรสินธุ์

หมอจิตเวช

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

67

icon

0

นพดล วาณิชฤดี

หมอจิตเวช

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

28

icon

0

ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร

หมอจิตเวช

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

Related Forums