โรค โรคจิตอารมณ์ (Mood disorder with psychotic feature unspecified) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค

โรคจิตทางอารมณ์เป็นความผิดปกติ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ มีความผิดปกติของอารมณ์เป็นอย่างมาก ได้แก่ ซึมเศร้ามาก อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ หรือหงุดหงิดมาก ร่วมกับอาการจิตเภทที่มีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น เห็นภาพหลอน หูแว่ว ระแวงคิดว่าคนอื่นจะมาทำร้าย เป็นต้น โรคจิตอารมณ์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • Depressive type จะมีอาการซึมเศร้าร่วมกับอาการจิตเภท โดยจะมีอาการขึ้นลงเป็นช่วงๆ แต่มักไม่มีช่วงที่อาการหายเป็นปกติเลย การพยากรณ์โรคจึงแย่กว่าโรคซึมเศร้าทั่วไป
  • Bipolar type จะมีอารมณ์ดีหรือหงุดหงิดก้าวร้าวผิดปกติ ร่วมกับอาการจิตเภท โดยอาจจะมีหรือไม่มีช่วงที่ซึมเศร้าก็ได้ ปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของโรคจิตอารมณ์นี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การทำงานที่ผิดปกติของสมอง และจากสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย เช่น การเลี้ยงดูในวัยเด็ก หรือความเครียดในชีวิตประจำวันที่กระตุ้นให้โรคแสดงอาการ

อาการของโรค

ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะจิตเภท โดยอาจจะเป็นอาการทางบวกหรืออาการทางลบก็ได้ อาการทางบวก ได้แก่ มีความคิดหลงผิด ระแวงว่าคนอื่นจะมาทำร้าย คิดว่าตนส่งกระแสจิตได้ พูดจาสับสนไม่ปะติดปะต่อ มองเห็นภาพหลอนหรือหูแว่ว โวยวาย ก้าวร้าว ทำร้ายคนอื่น ส่วนอาการทางลบ ได้แก่ แยกตัว ไม่สุงสิงกับใคร ไม่สนใจดูแลสุขอนามัยส่วนตัว เฉื่อยชาลง ไม่ทำงาน นั่งเฉยๆได้ทั้งวัน เป็นต้น นอกจากอาการทางจิตเภทแล้วผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่ผิดปกติร่วมด้วย โดยอาจเกิดขึ้นพร้อมกัน หรือเกิดสลับช่วงกันก็ได้ แบ่งอารมณ์ที่ผิดปกติเป็น 2 ประเภท คือ

  • อารมณ์เศร้า มักมีอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า มองทุกอย่างในแง่ลบ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับหรือหลับทั้งวัน รวมทั้งอาจมีความคิดฆ่าตัวตายได้
  • อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ มักมีความคิดแล่นเร็ว พูดมาก พูดไม่ยอมหยุด รู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลีย สมาธิลดลง ความยับยั้งชั่งใจเสียไป เช่น ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ทำเรื่องที่เสี่ยงอันตรายหรือผิดกฎหมาย ไม่ยับยั้งชั่งใจในเรื่องเพศ

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค

แพทย์จะทำการซักถามอาการจากทั้งผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย โดยจะซักประวัติครอบคลุมตั้งแต่ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปและอาการที่เกิดขึ้น สภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วย ความเครียด ระยะเวลาที่เริ่มสังเกตอาการป่วย สิ่งกระตุ้นอาการ การใช้สารเสพติด โรคทางกายที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเริ่มมีอาการทางจิต รวมไปถึงประวัติการป่วยเป็นโรคจิตเวชในครอบครัว

แนวทางการดูแลรักษา

สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาเป็นหลัก โดยแพทย์จะให้ยาทางจิตเวชเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมอง และอาจมีการให้ยาปรับอารณ์หรือยาต้านซึมเศร้าร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคและยา รวมถึงการดูแลตนเองในด้านต่างๆแก่ทั้งผู้ป่วยและญาติควบคู่กันไปด้วย นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อให้สามารถจัดการกับความเครียดได้ดียิ่งขึ้น และลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียดลง การทำครอบครัวบำบัด และฟื้นฟูสภาพจิตใจเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นปกติก็เป็นหลักการรักษาที่สำคัญเช่นเดียวกัน

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

จิตแพทย์, จิตแพทย์เด็ก กรณีอายุน้อยกว่า 15 ปี

ข้อควรระวัง

  • สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง ก้าวร้าว โวยวาย ทำร้ายผู้อื่น หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย แพทย์อาจพิจารณารับไว้รักษาในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะคงที่

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://medinfo2.psu.ac.th/psychiatry/elearning/document/undergrade/Document%20year%204/depressive%20.pdf https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK541012/

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • จิตใจ, อารมณ์
  • ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder)

ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (Adjustment disorder)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (adjustment disorder) มีสาเหตุชัดเจนจากภาวะความกดดัน หรือความเครียด ที่ทำให้คนไข้ไม่สามารถปรับตัวรับกับสภาวะนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม มีความทุกข์ ทรมาน จนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเรียน การงาน และการเข้าสังคม สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยแต่ละคนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดแตกต่างกัน ภาวะนี้เป็นภาวะทางจิตเวชที่สามารถหายเป็นปกติได้ โดยอาการมักจะเกิดภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากมีภาวะความกดดัน หรือความเครียดมากระทบ และมีอาการคงอยู่นานไม่เก

article-cover
  • จิตใจ, อารมณ์
  • โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตได้ สาเหตุการเกิดโรคเกิดได้จากหลายปัจจัย คือ * ปัจจัยด้านร่างกาย มีอาการป่วยที่มีส่วนทำให้เกิดโรค เช่น โรคขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome) โรคกรดไหลย้อน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนี้ยังเกิดจากสภาวะของร่างกายตามอายุ เช่น การหมดประจำเดือน รวมไปถึงอาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน * ปัจจัยด้านจิตใจ สภาวะความเครียด ความวิตกกังวลมีผลทำใ

article-cover
  • จิตใจ, อารมณ์
  • โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)

โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค ความเศร้าปกติ (normal sadness) เป็นอารมณ์ด้านลบ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไป เมื่อเผชิญกับการสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน ภาวะซึมเศร้า (depression) ต่างจากความเศร้าปกติตรงที่ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์การสูญเสีย ผิดหวัง ก็มักจะมีอาการเศร้ามากเกินจากปกติ หรือนานกว่าปกติ ไม่ดีขึ้นแม้ได้รับกำลังใจหรืออธิบายด้วยเหตุผล มักรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่าไม่มีความหมาย นอกจากนั้นอาจเป็นความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ รู้สึกผิด ก

article-cover
  • จิตใจ, อารมณ์
  • ภาวะเศร้า (Mild depressive state)

ภาวะเศร้า (Mild depressive state)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค ความเศร้าปกติ (normal sadness) เป็นอารมณ์ด้านลบ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวกับบุคคลทั่วไป เมื่อเผชิญกับการสูญเสีย ผิดหวัง หรือความรู้สึกอึดอัดทรมาน ภาวะซึมเศร้า (depression) ต่างจากความเศร้าปกติตรงที่ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์การสูญเสีย ผิดหวัง ก็มักจะมีอาการเศร้ามากเกินจากปกติ หรือนานกว่าปกติ ไม่ดีขึ้นแม้ได้รับกำลังใจหรืออธิบายด้วยเหตุผล มักรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่าไม่มีความหมาย นอกจากนั้นอาจเป็นความรู้สึกเศร้า ท้อแท้ รู้สึกผิด ก

article-cover
  • จิตใจ, อารมณ์
  • ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal syndrome)

ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal syndrome)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค ภาวะถอนพิษสุรา เกิดขึ้นเมื่อผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำหยุดดื่มแอลกอฮอล์หรือลดปริมาณการดื่มลงอย่างฉับพลัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง จนเกิดอาการถอนสุราตามมา อาการของโรค อาการมักเกิดขึ้นหลังจากหยุดดื่มแอลกอฮอล์ 24-72 ชั่วโมง โดยอาการผิดปกติจะแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ 1. อาการถอนสุราระดับเริ่มต้น (Simple withdrawal state) ผู้ป่วยจะมีอาการตัวสั่น มือสั่น เหงื่อออก ชีพจรเร็ว ร่วมกับมีอารมณ์หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพล