โรค ภาวะประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ (Oligomenorrhea) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค

โดยทั่วไป รอบเดือนแต่ละรอบของผู้หญิงจะห่างกันประมาณ 21 - 35 วัน ภาวะประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ คือ ภาวะที่มีการขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนมาห่างกว่าปกติ อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว และไม่ใช่สัญญาณอันตรายเสมอไป ส่วนใหญ่มักเกิดกับวัยรุ่นและผู้หญิงที่ใกล้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ตัวอย่างสาเหตุประจำเดือนมาน้อยอื่นๆ ได้แก่

  • การตั้งครรภ์ ผู้ที่ตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกจากช่องคลอดแบบกะปริบกะปรอยในช่วงแรก จากนั้นจะขาดประจำเดือนไป หากมีความเสี่ยงตั้งครรภ์ควรทำการตรวจการตั้งครรภ์จากปัสสาวะก่อนเสมอ
  • การใช้ยาคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด หรือยาฝังคุมกำเนิด จะมีผลยับยั้งการตกไข่ในเพศหญิง ทำให้ผนังมดลูกบางลง เป็นเหตุให้ประจำเดือนมาน้อย หรือเกิดภาวะประจำเดือนขาดได้ โดยประจำเดือนจะกลับมาเป็นปกติได้หลังหยุดใช้การคุมกำเนิดไปแล้ว
  • ความเครียด หรือการออกกำลังกายมากเกินไป เมื่อเกิดภาวะเครียดสมองจะปรับเปลี่ยนฮอร์โมนที่ควบคุมรอบเดือน ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อยหรือไม่มาเลย แต่จะกลับมามีประจำเดือนตามปกติหลังหายจากภาวะเครียดแล้ว
  • โรคทางกายอื่นๆ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่ โรคไทรอยด์สูงหรือต่ำ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ รวมไปถึงการให้นมบุตร

อาการของโรค

  • ประจำเดือนขาด
  • ประจำเดือนมาห่างกว่าปกติ
  • ประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ เช่น มากะปริบกะปรอย หรือมาเพียงรอบละ 1 วัน

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค

แพทย์จะวินิจฉัยหาสาเหตุของประจำเดือนมาน้อยด้วยการซักประวัติการเจ็บป่วย ลักษณะของประจำเดือนก่อนหน้าหรือการรักษาก่อนหน้า ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ อาการร่วมอื่นๆ ยาที่กำลังรับประทาน ปริมาณการออกกำลังกาย และความเครียด โดยอาจมีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • ตรวจการตั้งครรภ์ เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือไม่
  • ตรวจเลือด เพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง ปัญหาการแข็งตัวของเลือด ตรวจระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของประจำเดือนมาน้อยได้ นอกจากนั้นบางกรณีแพทย์อาจส่งตรวจระดับฮอร์โมนเพศเพื่อช่วยวินิจฉัยสาเหตุร่วมด้วยได้
  • ตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด เพื่อตรวจหาความผิดปกติของมดลูก รังไข่ และกระดูกเชิงกราน
  • ตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial biopsy) โดยการขูดเนื้อเยื่อภายในโพรงมดลูกออกมาตรวจวินิจฉัย

แนวทางการดูแลรักษา

ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และอาจไม่ใช่สัญญาณปัญหาสุขภาพร้ายแรง แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมโดยรักษาที่ต้นเหตุก่อนถ้าหากหาสาเหตุได้ ส่วนกรณีที่ประจำเดือนมาน้อยโดยไม่มีสาเหตุ และเป็นติดต่อกันยาวนาน แพทย์อาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด หรืออาจแนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงให้เป็นปกติ ประจำเดือนก็จะกลับมาสม่ำเสมอดังเดิมได้

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

สูตินรีแพทย์, กุมารแพทย์ กรณีอายุน้อยกว่า 15 ปี

ข้อควรระวัง

หมั่นสังเกตว่าประจำเดือนมาเป็นปกติหรือไม่ เพราะบางกรณี ประจำเดือนที่มาน้อย มาผิดปกติ หรือมีอาการป่วยอื่นๆ เกิดขึ้นพร้อมกับประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพภายใน

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.uptodate.com/contents/absent-or-irregular-periods-beyond-the-basics
https://www.pobpad.com/ประจำเดือนมาน้อย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

หญิง | อายุ 20 ปี

ภาวะประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ (Oligomenorrhea unspecified)

  • ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ
  • ประจำเดือนขาด
  • ภาวะประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ

มีอาการประจำเดือนมาผิดปกติค่ะ มีครั้งนึงเคยไม่มา 3-4 เดือน พอมาก็มาแบบกระปริบกระปรอยค่ะ ปรึกษาเภสัจเขาให้ทานยาบำรุงเลือดค่ะ จากนั้นอาการก็ดีขึ้น ประจำเดือนเริ่มมาตรงทุกเดือน แต่ช่วงเดือนที่ผ่านมา ประจำเดือนไม่มา 1 เดือนกว่า ๆ แล้วค่ะ คิดว่าน่าจะเพราะความเครียดกับนอนดึกด้วย แล้วก็มีสิวขึ้นซ้ำ ๆ บริเวณหน้าผากและคางค่ะ หน้าก็มันผิดปกติ แต่ช่วงนี้ดีขึ้นค่ะ อยากทราบว่าอาการของหนูคืออะไรคะ มีวิธีรักษายังไง ต้องทำอะไรบ้างคะ

thumbs-up

0

หญิง | อายุ 28 ปี

ภาวะประจำเดือนมาน้อยผิดปกติ (Oligomenorrhea unspecified)

  • ปวดท้อง
  • แสบท้อง
  • จุกแน่นท้อง
  • +5

สวัสดีค่ะ ขอสอบถามคุณหมอค่ะ - วันที่ 22 ต.ค. มีอะไรกับแฟน ไม่ได้สวมถุงยางอนามัย หลั่งนอก กินยาคุมแเป็นประจำ เนื่องจากเป็นโรค PCOS ค่ะ - วันที่ 31 ต.ค. มีอาการปวดท้องน้อยร่วมกับอาการท้องอืด ท้องผูก จุกแน่นท้อง มีไข้อ่อนๆ จนถึงตอนนี้ - วันที่ 14 พ.ย. 66 ทานยาคุมเม็ดสุดท้าย จริงๆ ต้องกินยาคุมเม็ดสุดท้าย วันที่ 7 พ.ย. 66 แต่ไปเที่ยวจึงกินยาคุมต่อ - วันที่ 18 พ.ย. 66 ประจำเดือนมาตามรอบ แต่มาน้อยกว่าประจำเดือนเดือนก่อนๆ สีประจำเดือนมีสีแดงปกติค่ะ ใส่ผ้าอนามัยผืนใหญ่เลือดจะไม่เต็มผืน ต้องใส่ผ้าอนามัยผืนกลาง เริ่มมีอาการขมปาก ขมคอ เป็นจนถึงตอนนี้ค่ะ - วันที่ 20-22 พ.ย. 66 ประจำเดือนน้อยลงกว่าเดิม ออกกะปริบกะปรอย เลือดสีชมพูอ่อนๆ มาแค่ช่วงเช้า พอเปลี่ยนผ้าอนามัยผืนเล็กช่วง 10 โมง ประจำเดือนก็ไม่มีแล้วค่ะ เป็นแบบนี้ 3 วันค่ะ - วันที่ 16-21 ธ.ค. 66 ประจำเดือนเดือน ธ.ค. มาตามรอบ แต่อาการขมลิ้น ท้องผูก ท้องอืด ปวดท้องน้อย ยังเป็นอยู่ค่ะ อาการเหล่านี้ที่ยังเป็นอยู่ ควรตรวจการตั้งครรภ์รึเปล่าคะ ขอบคุณค่ะ 🙏

thumbs-up

0

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • อวัยวะเพศ, ระบบสืบพันธุ์
  • อัณฑะอักเสบ (Epididymo-orchitis)

อัณฑะอักเสบ (Epididymo-orchitis)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคอัณฑะอักเสบมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการติดเชื้อ โดยเชื้อที่พบบ่อยแบ่งเป็น 1. เชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ผ่านมาทางท่อปัสสาวะ เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะตีบ หรือการคาสายสวนท่อปัสสาวะ 2. เชื้อแบคทีเรียก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย อาการของโรค * ปวดอัณฑะแบบค่อยๆ ปวดมากขึ้น * อัณฑะบวมข้างเดียว โดยมักจะมีอาการก่อนมาโรงพยาบาลหลายวัน * มีอาการปวดเวลาปัสสา

article-cover
  • อวัยวะเพศ, ระบบสืบพันธุ์
  • สงสัยภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy)

สงสัยภาวะตั้งครรภ์ (Pregnancy)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค การตั้งครรภ์ (Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ แล้วได้ตัวอ่อนเกิดขึ้นมา ในการตั้งครรภ์ปกติ ตัวอ่อนจะไปฝังอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก และตัวอ่อนจะแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่าง ๆ จนเจริญเติบโตเป็นทารก ซึ่งผู้หญิงโดยทั่วไปที่มีประจำเดือนปกติและมาสม่ำเสมอทุก ๆ 28 - 30 วัน จะตั้งครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด อาการของโรค * ประจำเดือนขาด * มีอาการแพ้ท้อง ปรากฏในช่วงตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6 สัปดาห์

article-cover
  • อวัยวะเพศ, ระบบสืบพันธุ์
  • มะเร็งปากมดลูก (CA cervix)

มะเร็งปากมดลูก (CA cervix)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตรีไทย และทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สาเหตุสำคัญของโรคนี้เกิดจากเชื้อ Human papilloma virus หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งอาจจะเคยได้รับเชื้อนี้แต่ร้อยละ 90 นั้นร่างกายสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้เอง ขณะที่ผู้ที่ได้รับเชื้ออีกร้อยละ 10 ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้หมด เชื้อนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเ

article-cover
  • อวัยวะเพศ, ระบบสืบพันธุ์
  • การอักเสบของอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease)

การอักเสบของอุ้งเชิงกราน (Pelvic inflammatory disease)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ คือการติดเชื้อในอวัยวะสืบพันธุ์สตรี อันได้แก่ มดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ ซึ่งมักจะเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเชื้อเหล่านี้จะแพร่กระจายจากช่องคลอดไปปากมดลูก และเข้าไปในอวัยวะอุ้งเชิงกรานคือมดลูกและเกิดการอักเสบที่รุนแรงตามมา ในหลายกรณีแพทย์อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนว่าเกิดจากแบคทีเรียชนิดใด อาจให้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดในการรักษาเพื่อครอบคลุมในการฆ่าเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุได้ทั้งหมด อาการของโรค * ปวดท้องช่วงล่าง หรือ ท้องน้อย * มีไข้ ในราย