โรค ถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร


เขียนโดย
หัวข้อ
•เจ็บท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา...ระวังถุงผนังลำไส้อักเสบ
•ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค
•อาการของโรค
•อาการของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ สามารถเป็นไปได้ตั้งแต่ไม่มีอาการตามที่กล่าวข้างต้นจนถึงมีอาการรุนแรงก็ได้ อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อย ๆ เกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน สังเกตได้ดังนี้
•แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค
•แนวทางการดูแลรักษา
•แพทย์เฉพาะทางแนะนำ
•ข้อควรระวัง
•ข้อมูลเพิ่มเติม
เจ็บท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา...ระวังถุงผนังลำไส้อักเสบ
ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค
ในทางเดินทางของเราบางครั้งสามารถมีความผิดโดยจะมีกระเปาะเล็กๆอยู่บริเวณผนังลำไส้ได้เรียกว่าถุงผนังลำไส้ (Diverticula) คนที่มีถุงผนังลำไส้นี้จะไม่มีอาการอะไรในคนส่วนใหญ่ โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ คือการอักเสบของกระเปาะ บริเวณเยื่อบุลำไส้ใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันรุนแรง โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ทำได้เพียงควบคุมอาการ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย บางรายอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
อาการของโรค
อาการของโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ สามารถเป็นไปได้ตั้งแต่ไม่มีอาการตามที่กล่าวข้างต้นจนถึงมีอาการรุนแรงก็ได้ อาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อย ๆ เกิดขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน สังเกตได้ดังนี้
- มีอาการกดเจ็บ หรือ ปวดเกร็งที่ท้องส่วนล่างบริเวณด้านซ้ายหรือด้านขวา โดยอาจปวดเรื้อรัง และ รุนแรง
- มีไข้สูง หนาวสั่น
- ท้องอืด
- เบื่ออาหาร
- ท้องผูก หรือ ท้องเสีย
- รู้สึกคลื่นไส้ หรือ อาเจียน
- เหนื่อย อ่อนเพลีย
- อุจจาระปนเลือด หรือ มีเลือดออกทางทวารหนัก
แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค
- การตรวจเลือด เพื่อหาร่องรอยของการอักเสบ
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของลำไส้
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) วิธีนี้ช่วยให้แพทย์เห็นภาพของระบบทางเดินอาหารทั้งหมด ในบางกรณีอาจทำร่วมกับการส่องกล้อง
- การตรวจอัลตร้าซาวน์ทางหน้าท้อง (Abdominal ultrasound) เพื่อช่วยหาสาเหตุอื่นๆที่อาจเป็นไปได้
แนวทางการดูแลรักษา
การรักษาโรคถุงผนังลำไส้อักเสบขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการผู้ป่วย อาการเพียงเล็กน้อย แพทย์อาจจะให้การรักษาเพียงการให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับการทานอาหารเป็นอาหารเหลวใสแทนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาการรุนแรง นอกจาการรักษาเบื้องต้นที่กล่าวไปแล้ว ผู้ป่วยอาจจะต้องนอนโรงพยาบาล และ งดน้ำงดอาหาร และ อาจจะมีความจำเป็นในการใส่สายเพื่อระบายการติดเชื้อในช่องท้องออกมา หรือ อาจจะต้องทำการผ่าตัดเอาส่วนที่มีการติดเชื้อออกมา
แพทย์เฉพาะทางแนะนำ
ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, กุมารแพทย์ ระบบทางเดินอาหาร กรณีอายุน้อยกว่า 15 ปี
ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการผิดปกติรุนแรง ดังนี้
- มีอาการปวดท้องรุนแรงกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อขยับตัวหรือไอ
- อุจจาระปนเลือดมาก ผิดปกติ อุจจาระมีสีแดงหรือสีดำเนื่องจากมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
- มีลม หรือ อุจจาระออกมาจากท่อปัสสาวะในขณะปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการเชื่อมต่อกันอย่างผิดปกติระหว่างทางเดินปัสสาวะและทวารหนัก
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://colorectalchula.com/wp-content/uploads/2017/07/ColoanalEmergency.pdf