เป็น "กรดไหลย้อน" ถึงขั้นเสียชีวิตได้จริงหรอ

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

ตรวจสอบข้อมูลโดย

_review_nick-profile-picture

แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ภาพทั้งหมด (3)

“กรดไหลย้อน” โรคสุดฮิตประจำโรงเรียน, ออฟฟิศ, และรวมถึงเป็นโรคยอดฮิตของแอปพลิเคชั่น ‘Agnos’  อีกด้วย

• มีการกดอาการ ‘ปวดท้อง’ ถึง 15,697 ครั้ง ซึ่งเป็นอาการอันดับ 1
• โรคที่ถูกวิเคราะห์มากที่สุด 2 อันดับคือ โรคกระเพาะ และ กรดไหลย้อน


แต่เดี๋ยวนะ..?   สองโรคนี้มีอาการปวดท้องที่คล้ายๆกัน จนบางทีเราอาจจะแยกไม่ออกว่ามันต่างกันยังไง? กรดไหลย้อนมันเป็นง่ายขนาดนั้นเลยหรอ ทำไมคนรอบตัวเราเป็นบ่อยกันจัง? แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาการที่เราเป็น คือ ‘กรดไหลย้อน’ จริงๆ


เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ‘อะไรคือกรดไหลย้อนกันแน่?’

อาการกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน (Gerd) เป็นภาวะที่น้ำย่อยหรือน้ำกรดในกระเพาะไหลย้อนกลับมาในหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารจะเกิดการอักเสบ จนทำให้เราแสบกลางอก เรอเปรี้ยว เรอบ่อย และคลื่นไส้ นั้นเอง
แต่อาการกรดไหลย้อนไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ อย่าง อาเจียน จุกเสียดแน่นท้อง ขมบริเวณคอและปาก มีอาหารย้อนขึ้นมาในปากและคอ ไอแห้ง หรือแม้กระทั้งถ่ายเป็นเลือดหรือสีดำ


แล้วกรดไหลย้อนเนี่ย..มันเกิดจากอะไรกันแน่?  ทำไมกรดถึงไหลย้อนขึ้นมาได้

กรดไหลย้อนเกิดจากอะไร

สาเหตุของกรดไหลย้อนมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากความผิดปกติของร่างกายเอง
หรือพฤติกรรมของเราเอง ก็เป็นเหตุให้เราเป็นกรดไหลย้อนได้หมด
สาเหตุจากความผิดปกติของร่างกายอย่าง ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร ทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานกว่าปกติ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมของผู้ป่วย หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
สาเหตุของกรดไหลย้อนจากพฤติกรรมสุดคลาสสิก อย่าง‘การกินแล้วนอน’  ที่ในสมัยก่อนเราคงจะได้ยินผ่านหูมาบ้างเวลาผู้ใหญ่ชอบมาบอกว่า ‘กินแล้วนอน ระวังจะกลายเป็นงู’ อาจเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันกรดไหลย้อนอีกแบบก็ได้


ทำไมกินแล้วนอนไม่ได้เป็นงู แต่เป็นกรดไหลย้อน?

กรดในกระเพาะอาหาร

การที่เราอยู่ในท่านอน ทำให้หูรูดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และอาจทำให้กรดไหลย้อนขึ้นไปได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้คนที่กินแล้วนอนในทันที ยังเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อนถึง 2 เท่า!
ถึงการกินแล้วนอนจะกลายเป็นงูไม่ใช่เรื่องจริง แต่เรื่องที่บอกว่ากรดไหลย้อน ‘ใครๆก็เป็นได้’ นั้น คือเรื่องจริง
เราอาจจะพอรู้มาบ้างว่ากรดไหลย้อน เป็นโรคฮิตประจำชาวออฟฟิศ หรือนักเรียน ที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเอง แต่โรคกรดไหลย้อนเนี่ย สามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ทุกเพศทุกวัยเลยจริงๆ

โดยผู้ที่อาจมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ คือ

  • ผู้ที่มีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่กินอาหารไม่เป็นเวลา กินแล้วนอนทันที
  • ชอบดื่มแอลกอฮอล์ หรือ น้ำอัดลม
  • กินอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด หรือ อาหารที่มีไขมันสูง
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตราฐาน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดอย่าง ยาลดความดันโลหิต

กรดไหลย้อน กับ โรคกระเพาะ ต่างกันยังไง?

(ความต่างหลัก ๆ เลย คือ ผู้ป่วยโรคกระเพาะ จะไม่ได้กลายเป็นงู)

ทั้งสองโรคอาจทำให้ผู้ป่วย เกิดอาการแสบๆท้องเหมือนกัน หรือ ผู้ป่วยอาจจะมีพฤติกกรรมการกินอาหารไม่ตรงเวลา แต่ก็อาจจะมีความต่างอยู่บ้าง โดย ผู้ป่วยโรคกระเพาะมักจะไม่มีอาการแสบร้อนหน้าอกและคอ แต่ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเรอบ่อย และมีน้ำขย้อนขึ้นมาได้ หลังจากกินอาหารเข้าไปจนอิ่ม จึงทำให้สองโรคนี้มีความคล้ายกันสุดๆ  จนอาจทำให้เกิดความลำบากในการวินิจฉัยได้


ทำยังไงดี ถ้าเป็น หรือ เสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน?


การเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคกรดไหลย้อน อย่างการไม่เข้านอนทันทีหลังกินอาหาร กินอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนัก

แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหาร
ยาลดการหลั่งกรด ซึ่งการใช้ยาทั้งหมดควรอยู่ในการดูแลของแพทย์**  

การรักษาด้วยยามักจะได้ผลลัพท์ที่ดี แต่ผู้ป่วยอาจต้องกินยาเป็นเวลานาน และเมื่อหยุดยา ผู้ป่วยอาจมีอาการกลับมาใหม่ได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การผ่าตัดรักษา จึงอาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกให้ผู้ โดยอาศัยเพียงการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้ลดอาการเจ็บจากการผ่าตัดได้ และมีผลการผ่าตัดที่ดีนั่นเอง

กรดไหลย้อนที่ใครๆก็เป็นเนี่ย สรุปแล้ว มันอันตรายถึงขั้นไหนกัน?


‘ทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยหรือเปล่า?’


คำตอบก็คือ ‘กรดไหลย้อน อาจไม่ได้ทำให้เราถึงขั้นเสียชีวิต’ แต่ การเป็นกรดไหลย้อนแล้วไม่รักษา อาจเพิ่มเปอร์เซ็นการเสียชีวิตของเราก็ได้นะ

เพราะอะไร..?

หากเราละเลยสัญญาณต่างๆ ที่บอกว่าเรากำลังเป็นกรดไหลย้อน และ ปล่อยไว้ จนทำใหเกิดอาการกรดไหลย้อนเรื้อรัง
สิ่งนี้อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และ ถ้าเราไม่ได้รักษามันอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดการอักเสบและติดเชื้อ  ซึ่งอาจยากต่อการรักษา

อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ มะเร็งหลอดอาหารได้
ถึงแม้จะมีโอกาสน้อยที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่เกิดขึ้นนะ

แน่นอนว่าโรคนี้สามารถรักษาให้หาย และป้องกันได้ โดยการรู้ทันโรค และรักษาให้ตรงจุด หากมีอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ สามารถวิเคราะห์อาการเบื้องต้นกับเรา  Agnos Application ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เสมือนมีเพื่อนเป็นหมอ


Reference:

https://yaforyou.com/can-acid-reflux-kill-you/
https://www.sikarin.com/health/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB/
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/gerd-gastroesophageal-reflux-disease
https://www.pobpad.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99
https://www.nonthavej.co.th/Gastroesophageal-Reflux-Disease.php
https://www.wfsrsms.org/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AD/

แพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง

doctor-image
icon

0

icon

1

icon

0

ไอรีน ยินออง เกียรติกวานกุล

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

1

icon

0

ณัชชา ชัยศุภมงคลลาภ

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

2

icon

0

นวลศรี แตระกุล

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

6

icon

0

พรพิมล ศรีสุภรวาณิชย์

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

2

icon

0

เกษณี โอฬารเสถียรกุล

หมออายุรกรรม

+ 1

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

4

icon

0

เรขา หาญเวสสะกุล

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

2

icon

0

นภัส วีระอาชากุล

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

20

icon

0

แอนน์ ตันติพินธวัตร

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

1

icon

170

icon

0

ณัฏฐ์ บุญตะวัน

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

38

icon

0

ณัฐศักดิ์ เหล่าศรีชัย

หมออายุรกรรม

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • StrangeMEDcases
  • อาหาร
  • +3

5 สิ่งชวนกุมขมับที่คุณหมอ เจอในท้องคน

มนุษย์มีวัฒนธรรมการ ‘กิน’ ที่หลากหลายมานับพันปี ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามความเชื่อ และสังคมของแต่ละพื้นที่ ที่เปิดเรื่องด้วยการกินแบบนี้ไม่ใช่ว่า Strange Med Cases จะพาไปทานของแปลกกันนะ แต่เราจะพาไปดูการ ‘กิน’ สุดประหลาดจนชวนขนลุก 5 เมนู ที่หมอผ่าเจอจากท้องคนไข้ และไม่ใช่แค่คุณ แม้แต่คุณหมอจาก Agnos ก็ถึงกับกุมขมับจากการบริโภคของคนเหล่านี้...มีอะไรบ้าง?..ไปดูกัน 1. ปี 2007 ในมณฑลเจียงซี คุณหมอได้พบ“กบเป็นๆ” ในท้องของชายที่ชื่อว่า เจียงมู่เชิง ขณะทำการตรวจร่างกายประจำปีปกติ ผ่านทางการเอ็กซ์เรย์ ช

article-cover
  • สุขภาพทั่วไป
  • ปวดท้อง
  • +1

8 สัญญาณอันตราย ปวดท้องประจำเดือน แบบนี้ควรไปหาหมอ

อาการปวดท้องประจำเดือน คือ ปัญหาที่ผู้หญิงส่วนใหญ่พบเจอ ซึ่งผู้หญิงแต่ละคนจะปวดท้องประเดือนไม่เท่ากัน ดังนั้นต้องหมั่นสังเกตตนเองว่าปวดท้องประจำเดือนแบบไหนถึงควรไปหาหมอ อาการปวดท้องประจำเดือน คือ อาการปวดบีบ หน่วง เป็นพักๆ บริเวณท้องน้อย อาจร้าวไปถึงบริเวณหลัง หรือก้นได้ โดยอาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากสารที่ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูก ระหว่างมีประจำเดือน สารนี้จะทำให้กล้ามเนื้อบีบตัว และ หดเกร็ง คล้ายกับอาการเจ็บปวดขณะคลอดบุตร การปวดท้องประจำเดือ