โรค ไข้เฉียบพลัน ที่อาการยังไม่แน่ชัด (Acute Febrile Illness (AFI)) เกิดจากอะไร และวิธีการรักษาเบื้องต้นเป็นอย่างไร

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค

อาการไข้เฉียบพลัน จัดเป็นอาการป่วยที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด สาเหตุของอาการไข้เฉียบพลัน มักเกิดเนื่องจากโรคติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุสามารถบ่งบอกหรือวินิจฉัยได้หากมีอาการร่วมอื่นๆที่บ่งชี้ แต่บางครั้งอาการไข้เฉียบพลันที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้ในระยะแรก เนื่องจากร่างกายยังไม่แสดงอาการอื่นๆ ส่งผลให้ตรวจร่างกายไม่พบอาการ ดังนั้นพื่อหาสาเหตุ จึงจำเป็นต้องทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และ ทำการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

อาการของโรค

อาการไข้เฉียบพลัน คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส อาจเกิดร่วมกับการทั่วๆไป ที่ไม่บ่งชี้โรคใดๆ เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กินได้น้อย ปวดหัว มึนๆศีรษะ โดยอาการไข้ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถหายได้เอง และ โอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมีน้อยมาก

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นการตรวจเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยของแพทย์ที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการไข้เฉียบพลันว่ามาจากสาเหตุใด โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจเพิ่มเติมเบื้องต้นก่อน คือ

  • การตรวจนับเม็ดเลือดและความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count) คือการตรวจปริมาณเม็ดเลือดขาวว่ามีปริมาณต่ำหรือสูงกว่าปกติ หากน้อยกว่า 5,000 อาจจะทำให้สงสัยสาเหตุก่อโรคจากไวรัส หรือการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง แต่ถ้ามากกว่า 10,000 cells / mm³ จะช่วยบ่งบอกได้ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) เพื่อทำการวินิจฉัยการติดเชื้อที่บริเวณทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากในระยะแรกผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอาจจะยังมีอาการไม่ชัดเจน หรือ ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยนอนติดเตียงที่มักจะเกิดปัสสาวะติดเชื้อได้บ่อย แต่ไม่สามารถสื่อสารอาการได้ชัดเจน การตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะก็จะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ หากการตรวจเบื้องต้นไม่พบความผิดปกติ แพทย์จะทำการนัดหมายผู้ป่วยเพื่อติดตามอาการในอีก 1-3 วันถัดไป เพื่อติดตามดูว่าจะมีอาการใดเพิ่มเติม หรือมีผลเลือดเปลี่ยนแปลงที่ช่วยบ่งชี้โรคเพิ่มเติมได้

แนวทางการดูแลรักษา

ถ้าหากแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยระบุโรคได้ การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการไปก่อน เช่น ให้ยาลดไข้ หรือยาลดการอักเสบ ให้เกลือแร่และวิตามิน และ แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการตนเอง และ นัดมาติดตามอาการอีกทีหนึ่ง เพื่อตรวจหาสาเหตุที่อาจก่อโรคเพิ่มเติม จนกว่าจะได้วินิจฉัยสุดท้าย และให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง

แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ

ข้อควรระวัง

หากมีอาการหอบเหนื่อย ปวดศีรษะมาก หนาวสั่น สับสน หรือซึมลง ควรรีบกลับมาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษา และ พิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อ หรือ รับไว้รักษาในโรงพยาบาลต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Acute%20febrile%20illness%20อ%20กำธร.pdf

บทความที่เกี่ยวข้อง

article-cover
  • อื่นๆ
  • ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya)

ไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya)

ไข้ชิคุนกุนยา vs ไข้เลือดออก ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคชิคุนกุนยา เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ “ชิคุนกุนยาไวรัส” ติดต่อมาสู่คน โดยการถูกยุงลายกัด มีระยะฟักตัว ของโรคหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2–5 วัน มีอาการคล้ายกับไข้เลือดออก ต่างกันที่ ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงขั้นช็อก อาการของโรค * ไข้สูงเฉียบพลัน โดยมักมีไข้ประมาณ 2-4 วัน หลังจากนั้น ไข้จะลงอย่างรวดเร็ว * ปวดตามข้อ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้

article-cover
  • อื่นๆ
  • ไข้เลือดออก (Dengue fever)

ไข้เลือดออก (Dengue fever)

โรคมาพร้อมกับหน้าฝน โรคไข้เลือดออก ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคไข้เลือดออกเกิดจาก การติดเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อจากผู้ป่วยแล้วไปกัดผู้ใด ก็จะถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคน และ ผ่านระยะฟักตัวนานประมาณ 5-8 วัน (สั้นที่สุด 3 วัน - นานที่สุด 15 วัน) ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ อาการของโรค * มีไข้สูงเฉียบพลัน ติดต่อกันประมาณ 3-8 วัน * หน้าแดง * ปวดศีรษะ บางคนจะบ่น ปวดรอบกระบอกตา * ปวดเมื่อยกล้า

article-cover
  • อื่นๆ
  • โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคเอดส์ หรือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี โดย HIV ย่อมาจาก human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัส ในขณะที่ AIDS คือ acquired immune deficiency syndrome คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อเอชไอวีทำลาย จนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งเป็นอาการระยะท้ายๆของการติดเชื้อ แปลว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีหากรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่กลายเป็นเอดส

article-cover
  • อื่นๆ
  • โรคฉี่หนู (Leptospirosis (uncomplicated))

โรคฉี่หนู (Leptospirosis (uncomplicated))

โรคฉี่หนู อันตรายที่มากับฝน ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค โรคฉี่หนู หรือ Leptospirosis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์สู่คน เชื้อก่อโรคจะปนออกมากับฉี่ของสัตว์ต่างๆ โดยหนูจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด จึงเรียกว่า โรคฉี่หนู แต่อย่างไรก็ตามสัตว์อื่นๆ อย่างเช่น สุนัข วัว ควาย ก็สามารถมีเชื้อ และ แพร่เชื้อมาสู่คนได้เช่นเดียวกัน (เชื้อนี้ไม่ทำให้สัตว์มีอาการป่วย) โดยเชื้อจะถูกขับออกมากับฉี่ของสัตว์เหล่านี้มาอยู่ในดินที่ชื้นแฉะ น้ำท่วมขัง หรือตามสวนไร่นาที่มีน้ำขัง และเชื้อก็จะมีชีวิตอยู่ในสิ่ง

article-cover
  • อื่นๆ
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

ข้อมูลโรคและสาเหตุการเกิดโรค น้ำตาลในเลือดต่ำ คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 mg/dl มักทำให้เกิดอาการใจสั่นอ่อนเพลีย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลหรือยาฉีดอินซูลิน (Insulin) อาการของโรค ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการที่แตกต่างกันไป อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ * เหงื่อแตกตัวเย็น * อ่อนเพลีย ไม่มีแรง * เวียนศีรษะ * ตาพร่ามัว * พูดจาสับสน * หากมีอาการรุนแรง อาจจะชัก หรือหมดสติได้ แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค อาศัยประวัติที่เข้าได้กั