พื้นที่ปลอดภัยที่ว่า…อยู่ที่ไหนกัน ?


เขียนโดย
ตรวจสอบข้อมูลโดย

หัวข้อ
หากเทียบกับเมื่อ 30 ปีที่แล้ว นับได้ว่าสมัยนี้เรามีข้อมูลทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคและอาการทางจิตใจมากขึ้น รวมถึงผู้คนในสมัยนี้ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นอีกด้วย
องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุว่า คนในโลกนี้….
ทุกๆ 8 คน จะมี 1 คนที่ใช้ชีวิตอยู่กับปัญหาสุขภาพจิต
ทุกๆ การเสียชีวิต 100 ครั้ง จะมีอย่างน้อย 1 ครั้งที่เกิดจากการฆ่าตัวตาย
และอีกหนึ่งข่าวร้ายคือ ตัวเลขเหล่านี้จะสูงขึ้นอีกสำหรับผู้ที่มีอายุ 15-29 ปี
ในไทยเราเช่นเดียวกัน จากรายงานของกรมสุขภาพจิตปี 2565 ได้กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยจิตเวชจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยในปี 2562 ปีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 33,891 คนต่อปี (จากตัวเลขเดิม 30,247 คน) และตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงตัวเลขของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเท่านั้น ยังมีโรคและอาการทางจิตใจอีกมากมาย เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว(ไบโพลาร์) โรคเครียด โรคตื่นตระหนก
แต่ในทางกลับกัน ในประเทศไทยมีจิตแพทย์และนักจิตบำบัดน้อยมากหากเทียบกับจำนวนผู้ป่วย มีรายงานจากกรมสุขภาพจิต ในปี 2565 ระบุว่า ไทยมีจิตแพทย์รวม 845 คน คิดเป็นจิตแพทย์ 1.28 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน
มีนักจิตวิทยา 1,037 คน คิดเป็น 1.57 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน้อยและน่ากังวล
เชื่อว่าหลายๆคนคงไม่อยากให้ตัวเราเองหรือคนใกล้ตัว เป็น 1 ใน 8 ของผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตเป็นแน่ แต่ว่า..เราไม่ใช่หมอ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยได้ยังไง ?
ไม่ใช่หมอก็ช่วยได้ !
ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แน่นอนว่าเราก็สามารถช่วยให้ตัวเลขและความเสี่ยงลดลงได้ โดยการสร้าง‘พื้นที่ปลอดภัยให้แก่กัน’ แต่เดี๋ยวก่อนนะ..
พื้นที่ปลอดภัยที่ว่า มันคือที่ไหนกัน ?
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินคำนี้มาอยู่บ้าง แต่สรุปแล้ว พื้นที่ปลอดภัยมันคืออะไรกันแน่ ?
พื้นที่ปลอดภัย (Safe Zone) คือ พื้นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัย ทั้งทางร่างกายและจิตใจของเรา โดยจะไม่มีการตัดสิน คำพูดเสียดสี หรือใช้มาตราฐานของตัวเองในการตัดสิน พื้นที่นี้จะไม่มีการโทษตัวเอง หรือพูดได้ว่า เป็นพื้นที่สำหรับทุกๆคนที่อยู่แล้วสบายใจนั่นเอง
อีกหนึ่งคนที่เป็นตัวอย่างในไทย และน่านับถือเป็นอย่างมากคือ คุณเขื่อน ภัทรดนัย เสตสุวรรณ ที่คอยขับเคลื่อน ‘พื้นที่ปลอดภัย’ สำหรับทุกๆคนอยู่เสมอ เช่น การมอบกำลังใจให้ทุกๆคนอยู่เสมอ หรือการที่เราสามารถเข้าไปทักทาย พูดคุย และกอดคุณเขื่อน เพื่อขอกำลังใจได้อีกด้วย
เราจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยได้ยังไง ?
พื้นที่ปลอดภัยมีที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว โรงเรียน ในกลุ่มเพื่อน หรือแม้ในกระทั้งระดับชุมชนและประเทศ
การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทำได้ง่ายๆโดยเริ่มต้นเปิดใจ และกำจัดอคติในใจของเรา และวิธีอื่นๆ เช่น
- การฟังอย่างตั้งใจและไม่มีอคติ
- การถามเพื่อความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อการกดดันและเพื่อสนองคำตอบของตัวเอง
- การให้เวลา เพื่อทำความเข้าใจและการทบทวนความรู้สึกของตัวเอง
- ไม่พูดแทรก
Agnos เชื่อว่า ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กันได้ ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ตัว คนในสังคม ทั้งในสังคมจริงๆและสังคมบนโลกอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สังคมของเราทุกๆคนเป็นพื้นที่ ที่ปลอดภัยทั้งกายและใจ
นอกจากนี้ทางเราได้นำไอเดียนี้มาต่อยอด พัฒนาเป็นแอปพลิเคชันและชุมชนสุขภาพ ภายใต้ชื่อ ‘ยาใจ (YaJai)’
โดยสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยหรือครอบครัวผู้ป่วย เพื่อให้ทุกๆคนมาพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิด หรือวิธีรับมือต่างๆ ภายใต้ความปลอดภัยและความถูกต้องทางการแพทย์ เพราะเราเชื่อว่า
อาการป่วยไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย การขอความช่วยเหลือก็เช่นกัน
สามารถเข้าไปดูชุมชนของเราได้ ผ่านเว็บไซต์ได้ที่ https://www.yajai.co/community
นอกจากนี้ หากใครมีคำถาม หรือความกังวลสามารถใช้ แอปพลิเคชัน Agnos เพื่อวิเคราะห์อาการเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง หรือโพสคำถามเพื่อให้คุณหมอของทาง Agnos เข้าไปตอบได้อีกด้วย
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ที่ https://agnoshealth.app.link/FFfeMvF1Nsb
Agnos ขอเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกๆคน พื้นที่ปลอดภัย สร้างได้ง่ายๆ เริ่มจากตัวเรา !
อ้างอิง : https://www.a-chieve.org/know-how/detail/safespace/
https://www.dailynews.co.th/news/1189958/
https://www.tcijthai.com/news/2022/10/scoop/12594
https://www.hfocus.org/content/2022/09/26023
https://data.go.th/dataset/specialist
https://dmh.go.th/report/datacenter/dmh/
https://www.alljitblog.com/?p=1838
https://missiontothemoon.co/psychology-emotional-safety/