ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ ‘ อาหารเป็นพิษ ’ คงจะเป็นอีกหนึ่งโรคที่เราอาจต้องระวังไว้ !
หลายๆคนอาจจะเคยได้ยิน และคุ้นเคยกับคำพูดที่ว่า
‘ ตามใจปาก ลำบากท้อง ‘ กันอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารเป็นพิษ ที่หลายๆคนอาจคิดว่าเป็นโรคทั่วไป ไม่ได้อันตรายใดๆ แป๊บเดียว เดี๋ยวก็หาย แต่จริงๆแล้ว อาหารเป็นพิษอาจอันตรายมากกว่านั้น..!
วันนี้เรามาทำความรู้จักกับหนึ่งในโรคยอดฮิตหน้าร้อน อย่าง อาหารเป็นพิษ กัน….!
อาหารเป็นพิษ คืออะไร ?
อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) เกิดจากการกินอาหาร น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หรือ สารพิษเข้าไป โดยส่วนมากจะมีอาการหลังกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษไป 2-6 ชั่วโมง
อาการหลักๆของอาหารเป็นพิษ คือ
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดหัว
- ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือเกินวันละ 3 ครั้ง
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- อ่อนเพลีย หิวน้ำ เหนื่อยง่าย เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ
โดยปกติอาหารเป็นพิษ สามารถหายได้เองในวันหรือสองวัน แต่หากเป็น อาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง อาจมีอาการดังนี้
- อาเจียนและถ่ายอุจจาระมากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน
- มีไข้.
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซึม
- มือเท้าเย็น
- ปัสสาวะน้อย หรือมีสีเข้ม
**สำหรับผู้ป่วยเด็ก อาจมีอาการตาโหล ปากแห้ง รวมถึงปัสสาวะออกน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานานมากกว่า
เชื้อโรคอะไรที่ทำให้เราเป็นอาหารเป็นพิษได้ล่ะ..?
ส่วนมากแล้วอาหารที่ปนเปื้อน เชื้อโรคอย่าง เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต จะเป็นต้นเหตุสำคัญในการเกิดอาหารเป็นพิษ
- ซาลโมเนลลา (Salmonella) : พบได้ในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
- ชิเกลล่า (Shigella) : พบได้ในการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์อาหารสด น้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมไปถึงการสัมผัสกับคนที่มีเชื้อโดยตรง เช่น เอามือที่อาจมีเชื้อไปจับอาหารสด
- คลอสติเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) โดยเชื้อตัวนี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ๆมีออกซิเจนน้อย ทำให้พบได้มากในภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท และอาจผ่านกระบวนการผลิต ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อย่าง ผักดอง หรือ เนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ เช่น แฮม เป็นต้น
- อีโคไล (E. Coli) บางสายพันธ์ุ พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ
- ไวรัสที่ก่อโรคในทางเดินอาหาร (Enteric Viruses) ที่มักปนเปื้อนได้ทั้งในอาหารสด สัตว์น้ำที่มีเปลือก และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด
อาหารที่ทำให้เราเสี่ยงอาหารเป็นพิษ !
- อาหารดิบ หรือสุกๆดิบๆ
- อาหารหมักดอง หรืออาหารกระป๋องที่อาจไม่ได้มาตราฐาน เช่น กระป๋องรั่ว กระป๋องขึ้นสนิท
- อาหารที่ผ่านการปรุงแบบไม่สะอาด เช่น ใช้เขียงหั่นผักและผักร่วมกัน
- อาหารรสจัด
- อาหารที่มีแมลงวันตอม
- อาหารข้ามคืน หรือทิ้งระยะเวลาไว้นาน โดยไม่ได้มีการอุ่นก่อน
- น้ำแข็งจากการผลิตที่ไม่ได้มาตราฐาน
เป็นอาหารเป็นพิษ ทำยังไง ?
การดูแล ป้องกันและรักษา อาหารเป็นพิษเบื้องต้นคือ
- กินอาหารที่ปรุงสุก และสะอาด
- ล้างมือทุกครั้งก่อนกินข้าวทุกครั้ง
- ควรละลายอาหารแช่แข็งด้วยไมโครเวฟ ไม่ควรปล่อยให้ละลายเองตามธรรมชาติ
- งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด
- ดื่มน้ำให้มากๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หากมีอาการคลื่นไส้ สามารถกินยาแก้คลื่นไส้ได้
- ดื่มเกลือแร่ (****ดื่มเกลือแร่ ORS)
เกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย ORS VS เกลือแร่นักกีฬา ORT
ORS หรือ Oral Rehydration Salt คือเกลือแร่ที่จะช่วยทดแทนการเสียน้ำจากอาการท้องเสีย หรืออาเจียนที่ร่างกายเราสูญเสียไป
โดยเมื่อเราท้องเสีย หรืออาเจียนบ่อยๆ ร่างกายอาจขาดน้ำและเกลือแร่ จึงจำเป็นต้องดื่มเกลือแร่ ORS เข้ามาทดแทน
หากไปดื่มเกลือแร่ ORT หรือ Oral Rehydration Therapy สำหรับคนที่ออกกำลังกายแล้ว อาจทำให้ยิ่งมีอาการ หรือไปกระตุ้นอาการท้องเสียเพิ่มมากขึ้นได้ เนื่องจากในตัวเครื่องดื่มเกลือแร่ ORT จะมีปริมาณน้ำตาลและเกลือแร่บางชนิดที่ค่อนข้างสูง จึงอาจทำให้ร่างกายเราดึงน้ำมาในทางเดินอาการมากขึ้น ส่งผลให้กระตุ้นอาการท้องเสีย หรือถ่ายเหลวได้
ยาปฏิชีวนะ VS อาหารเป็นพิษ
คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าหากอาหารเป็นพิษเกิดจากการติดเชื้อ งั้นก็กินยาปฏิชีวนะสิ..! แต่อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น หากมีอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาโดยการดื่มน้ำให้มากๆ ดื่มเกลือแร่และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็อาจสามารถหายได้เอง เพราะยาปฏิชีวนะไม่สามารถแก้อาหารเป็นพิษได้ทุกกรณี เพราะยาปฎิชีวนะจะฆ่าเชื้อโรค แต่ไม่มีผลกับสารพิษ หรือพิษที่เป็นผลมาจากเชื้อโรคอีกทีใดๆ
ยาคาร์บอนแก้ท้องเสีย VS อาหารเป็นพิษ
ยาคาร์บอน หรือยาช่วยหยุดถ่ายใดๆ จะไม่แนะนำในกรณีที่เป็นการติดเชื้อในทางเดินอาหาร เพราะจะทำให้ไม่ถ่ายและทำให้ร่างกายไม่สามารถขับเชื้อโรคในทางเดินอาหารได้ เป็นการสะสมเชื้อโรคแทน
คาร์บอน เม็ดสีดำ ที่เราเชื่อว่าจะช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกายได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้มีวิจัย หรือการยืนยันที่แน่ชัดจริงๆว่า คาร์บอนมีส่วนช่วยจริงๆมั้ย
คาร์บอนอาจมีส่วนช่วยจริงในการดูดซับสาร แต่มันไม่ได้ดูดซับแค่สารพิษ แต่อาจดูดซับสารอาหารและยาบางชนิดด้วย เพราะฉะนั้นควรทานให้ห่างจากตัวยาอื่นๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการดูดซับตัวยาอื่นๆของคาร์บอน
เชื่อว่าหลายๆคนอาจเคยผ่านการเป็นอาหารเป็นพิษมาอยู่บ้าง บางคนอาจหายได้เองภายในวันหรือสองวัน บางคนอาจต้องเข้าโรงพยาบาล แต่รู้หรือไม่ว่า การเป็นอาหารเป็นพิษ อาจทำให้เราเสียชีวิตได้…!?
ได้ยังไงกันล่ะ..?
เราสามารถเสียชีวิตจากอาหารเป็นพิษได้มั้ย..?
อาหารเป็นพิษอาจทำให้เราเสียชีวิตได้จากภาวะแทรกซ้อนของมันเอง โดยอาจทำให้เราอยู่ในภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ได้ จากอาการท้องเสียและอาเจียน รวมถึงอาการไม่อยากอาหารหรือกินอาหารไม่ได้ของผู้ป่วย จนทำให้ร่างกายช็อก และแน่นอนว่าสิ่งนี้เป็นอันตนายต่อชีวิตได้
โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบสหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
นอกจากนี้เชื้อโรคยางชนิดที่อาจทำให้เราเป็นอาหารเป็นพิษ อาจทำอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆของเราได้ เช่น เช่น เชื้ออีโคไลชนิดรุนแรง (Shiga Toxin-Producing E. Coli) ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย จนอาจถึงแก่ชีวิตได้ เป็นต้น
ถึงแม้การเสียชีวิตจากโรคอาหารเป็นพิษจะมีน้อยมาก แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราควรลดปัจจัย และพฤติกรรมเสี่ยงโรคนี้ เราควรจะกินอาหารสุก และหมั่นตรวจเช็คร่างกายของเราด้วย !
หากมีอาการผิดปกติ หรือความไม่สบายใจใดๆ สามารถคัดกรอง หรือเช็คอาการก่อน ด้วยแอปพลิเคชั่น Agnos ด้วย AI หรือปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ด้วยเช่นกัน
อ้างอิง : https://www.agnoshealth.com/articles/irritable-bowel-syndrome-vs-food-poisoning
https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1892
https://www.medparkhospital.com/content/food-poisoning
https://mordeeapp.com/th/article
https://www.vibhavadi.com/Health-expert/detail/274
https://www.sikarin.com/health/อาหารเป็นพิษ-อร่อยปาก-ลำ
https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=3728
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1847223
https://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=403
https://www.pobpad.com/