อยู่ดีๆ ก็เจ็บอกข้างซ้าย..!

วันที่โพสต์:
feature-image-blurfeature-image

เขียนโดย

แชร์บทความ

share-optionshare-optionshare-optionshare-option

ภาพทั้งหมด (1)

โรคหัวใจหรือเปล่า ?

เคยมั้ย…อยู่ดีๆก็เจ็บจี๊ดๆที่บริเวณอกข้างซ้าย ? เป็นหนึ่งในอาการที่ทำให้เราใจหายใจคว่ำไปหมด คิดว่าตัวเองอาจเป็นโรคหัวใจ หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่หัวใจของเรา !

แต่การเจ็บบริเวณหน้าอกข้างซ้าย..อาจไม่ใช่โรคหัวใจเสมอไป

วันนี้ Agnos จะมาไขข้อสงสัยว่า…

‘อาการเจ็บจี๊ดๆที่หน้าอกข้างซ้ายเกิดจากอะไร ?’

3 อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากกลุ่มโรคหัวใจ

  1. โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Coronary Artery Disease, CAD)

หรือภาวะหัวใจขาดเลือด หมายถึง ภาวะที่หลอดเลือดแดง (Coronary Artery) ที่เลี้ยงหัวใจเกิดภาวะตีบหรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก และอาจมีภาวะหัวใจวายหรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

หัวใจขาดเลือด เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดแดงใหญ่โคโรนารี (Coronary Artery) เนื่องจากมีการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดตามวัย มีไขมันและหินปูนมาเกาะที่ผนังชั้นในของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและหนาขึ้น ไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการตีบแคบหรือตัน เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย

อาการของหัวใจขาดเลือด

อาการสำคัญของหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บหน้าอก (Angina Pectoris) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ เจ็บหน้าอกแบบคงที่ กับเจ็บหน้าอกเฉียบพลันหรือไม่คงที่


   เจ็บหน้าอกแบบคงที่ (Stable Angina)

เป็นอาการเจ็บหน้าอกเมื่อมีการออกแรงมากๆ เช่น เดินขึ้นสะพานลอย ขณะวิ่ง หรือเจ็บหน้าอกเมื่อมีอาการโกรธ เครียด แต่อาการจะทุเลาลงถ้าหยุดพักจากการออกแรงในกิจกรรมนั้นๆ หรือคลายจากอารมณ์ตึงเครียด ส่วนใหญ่จะมีอาการประมาณ 3-5 นาที หรือนานที่สุดไม่เกิน 20 นาที

ลักษณะการเจ็บหน้าอก จะเจ็บแน่นๆ เหมือนมีของหนักมาทับกลางหน้าอก และอาจเจ็บร้าวไปที่ขากรรไกรหรือแขนซ้าย อาจมีอาการร่วมอย่างอื่น เช่น ใจสั่น เหนื่อยหอบ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ สาเหตุของการเจ็บ เนื่องจากขณะออกแรงหรือมีอารมณ์โกรธ เครียด หัวใจต้องการเลือดและออกซิเจนเพิ่มขึ้น ในขณะที่หลอดเลือดหัวใจตีบตัน จึงส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ขาดออกซิเจน และเมื่อพักหรือผ่อนคลายจากอารมณ์โกรธแล้วอาการเจ็บหน้าอกก็จะหายไป เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจยังไม่ตาย

   เจ็บหน้าอกเฉียบพลันหรือแบบไม่คงที่ (Unstable Angina)

เป็นอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่สัมพันธ์กับการออกแรง เจ็บได้ในขณะพัก เจ็บนานเกิน 20 นาที ซึ่งมักมีภาวะช็อกและหัวใจวาย มีกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน (Myocardial Infarction) สาเหตุมาจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และอาจมีอาการร่วมอื่นๆ ได้แก่ ใจสั่น วิงเวียน ศีรษะ หน้ามืด จากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ หรือมีภาวะช็อก เหงื่อออก ตัวเย็น หมดสติ หรือเสียชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

  • มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เป็นการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดตามวัย เริ่มพบมากในผู้ชายที่อายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี
  • บุคคลที่มีอาชีพนั่งทำงานที่โต๊ะ มีการขยับร่างกายน้อย
  • ขาดการออกกำลังกาย ทำให้มีไขมันเกาะในผนังหลอดเลือดสูง หลอดเลือดเสื่อมสภาพ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป ได้แก่ โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่จัด
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

 2.กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)

เป็นภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจจากสาเหตุต่างๆ ทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆลดลง และยังมีผลให้การนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลสินแพทย์

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจจากสาเหตุต่างๆ ทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆลดลง และยังมีผลให้การนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

  • การติดเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เช่น อะดีโนไวรัส คอกซากีไวรัส พาร์โวไวรัส ไวรัสเอชไอวี
  • การติดเชื้ออื่นๆ เช่น แบคทีเรีย ปรสิต เชื้อราบางชนิด
  • การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยากันชักบางชนิด ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์
  • การใช้สารเสพติด เช่น โคเคน
  • การได้รับสารเคมีบางชนิด เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ สารตะกั่ว
  • การได้รับรังสี
  • โรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส โรคทาคายาสุ

อาการ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเป็นอย่างไร

  • เจ็บหน้าอก
  • เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง หายใจสั้นลง
  • ใจสั่น ใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะ
  • อ่อนเพลีย
  • ขาบวม เท้าบวม นอนราบไม่ได้ ถ้ามีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย
  • มีไข้ ปวดตามตัว ในกรณีที่สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ


ภาวะแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมีอะไรบ้าง ?

  • หัวใจล้มเหลว จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้เพียงพอกับความต้องการ
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมอง จากลิ่มเลือดในหัวใจหลุดไปอุดตันที่เส้นเลือดสมอง
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หัวใจหยุดเต้นฉับพลัน

กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบป้องกัน อย่างไร ?

  • ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รักษาความสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆและสารรังสีโดยไม่จำเป็น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัดเยอรมัน วัคซีนโรคคอตีบ


 3.โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis)

เป็นโรคหัวใจที่เกิดจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แล้วทำให้เกิดน้ำหนอง หรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ส่งผลให้หัวใจขยายตัวและบีบตัวไม่ดี โดยเยื่อหุ้มหัวใจนั้นมีลักษณะบางๆ ห่อหุ้มหัวใจ แบ่งเป็นสองชั้น โดยชั้นในจะติดกับหัวใจโดยตรง ส่วนชั้นนอกจะติดกับปอดและอวัยวะอื่นๆ โดยระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจสองชั้นนี้จะมีน้ำหล่อลื่นที่ทำหน้าที่ป้องกันหัวใจของเราไม่ให้เสียดสีหรือกระทบกระเทือนกับอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับหัวใจในขณะที่หัวใจบีบตัวเข้าออก

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบสามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้แบบรวดเร็วและทันที มีอาการรุนแรง แต่สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 3 เดือน
  2. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบกลับเป็นซ้ำ เป็นอาการต่อเนื่องของผู้ป่วยที่เป็นโรคโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลันที่กำลังจะรักษาหายแล้ว แต่กลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง ส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกาย
  3. โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบแบบเรื้อรัง เป็นอาการอักเสบที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาจจะเกิดจากการดื้อยาหรือการรักษาที่ไม่ครบถ้วน


เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดจากอะไรได้บ้าง ?

สาเหตุการเกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ยังไม่มีการค้นพบที่แน่ชัด แต่ก็ยังมีโรค เชื้อไวรัส และภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ เช่น

  • การอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
  • การอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น หัวใจขาดเลือด การบาดเจ็บ การปริแตกของหลอดเลือดแดงใหญ่ใกล้หัวใจ มะเร็งบริเวณทรวงอก การฉายรังสีบริเวณทรวงอก
  • การอักเสบจากภาวะตอบสนองของร่างกายหรือโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง ไข้รูมาติก รูมาตอยด์

อาการ ของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

เมื่อมีภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โดยทั่วไปจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • เจ็บหน้าอก มีลักษณะเจ็บแปล๊บหรือแน่นรุนแรงบริเวณกลางหน้าอกหรือด้านซ้าย ร้าวไปคอ แขนหัวไหล่ หรือบริเวณสะบักข้างซ้าย จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกมากขึ้นเวลานอน แต่เมื่อเวลาโน้มตัวไปข้างหน้าอาการเจ็บจะลดลง
  • มีไข้ อ่อนแรง หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ไอ ใจสั่น
  • กรณีที่เป็นการอักเสบเรื้อรังอาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ในขั้นรุนแรงอาจมีอาการท้องบวม ขาบวม และภาวะความดันโลหิตต่ำ ซึ่งเกิดจากมีภาวะหัวใจวายที่เกิดขึ้นตามมา


อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของปอด

  1. โรคปอดอักเสบ (pneumonitis)

หรือที่เรียกกันว่า ปอดบวม เป็นการอักเสบของเนื้อปอดที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะปอดอักเสบจากการติดเชื้อในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งบางครั้งการติดเชื้ออาจรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจึงควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไว้ก่อน

 โรคปอดอักเสบเกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่

ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือ pneumonia (ปอดบวม) เป็นชนิดของปอดอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเชื้อโรคที่เข้าสู่ปอดและทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ซึ่งเชื้อที่พบจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ และสภาพแวดล้อมที่เกิดโรค เช่น ได้รับเชื้อจากที่ชุมชนทั่วไป หรือจากภายในโรงพยาบาล

ทั้งนี้ เชื้อแบคทีเรียที่พบมักได้แก่ เชื้อ Streptococcus pneumoniae, เชื้อ Haemophilus influenzae type b, เชื้อ Chlamydia pneumoniae, เชื้อ Legionella spp. และเชื้อ Mycoplasma pneumoniae ส่วนเชื้อไวรัส ได้แก่ เชื้อ Respiratory Syncytial Virus (RSV), เชื้อ Influenza หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อราจากมูลนกหรือซากพืชซากสัตว์

ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เกิดจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีที่ระเหยได้ นอกจากนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัด และยาสำหรับควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิดก็อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้

อาการ ของโรคปอดอักเสบ

แม้ว่าโรคปอดอักเสบจากทั้งสองสาเหตุจะมีอาการใกล้เคียงกัน แต่วิธีการป้องกันและรักษาแตกต่างกัน และเนื่องจากโรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อสามารถติดต่อได้ง่ายจึงเป็นชนิดที่พบได้มากกว่า และจำเป็นต้องเฝ้าระวังผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาด

สำหรับอาการของโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ได้แก่

-    ไอมีเสมหะ

-   เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ

-    หายใจเร็ว หายใจหอบ หายใจลำบาก

-    มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น

-    คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย

-    อ่อนเพลีย

-    ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม ความรู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ

-    เด็กเล็กอาจมีอาการท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ

ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

2. วัณโรคปอด

วัณโรคปอดคืออะไร

ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยมากแล้วจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า "วัณโรคปอด" ทั้งนี้ วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่สู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอและจามได้


สาเหตุของวัณโรคปอด

โดยทั่วไปแล้ว วัณโรคปอดมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ที่ทำให้เกิดโรค ที่รับผ่านกันมาจากละอองฝอยทางอากาศ วัณโรคเป็นโรคติดต่อ แต่ก็ไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ซึ่งหมายความว่า ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะติดโรคจากคนใกล้ชิดหรือคนที่ทํางานด้วยกัน ไม่ใช่คนแปลกหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์จะได้รับเชื้อและเกิดวัณโรคง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ นอกจากนี้ เชื้อวัณโรคบางชนิดมีการดื้อยา โดยเฉพาะกลุ่มยาไอโซไนอาซิดและไรแฟมพิซิน

วัณโรคปอดมีอาการอย่างไร

วัณโรคมีอยู่ 2 ประเภท คือ วัณโรคแฝง และ วัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ คนที่มีวัณโรคแฝงจะไม่แสดงอาการและวัณโรคชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น อย่างไรก็ดี วัณโรคแฝงอาจกลายมาเป็นวัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบได้ และจำเป็นต้องได้รับการรักษาเช่นเดียวกัน ในขณะที่วัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบนั้นทําให้ผู้ป่วยมีอาการของวัณโรค และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้

ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบอาจมีอาการดังต่อไปนี้:

  • มีอาการไอเรื้อรังยาวนานถึง 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
  • ไอแล้วเสมหะมีเลือดปนออกมา
  • มีอาการเจ็บหน้าอก ขณะหายใจหรือไอ
  • มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • มีน้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • มีไข้ หรือมีเหงื่อออกในเวลากลางคืน
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • รู้สึกไม่อยากอาหาร

โดยทั่วไปแล้ว วัณโรคอาจเป็นกันได้ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายนอกเหนือจากปอดก็ได้ เช่น ไต กระดูกสันหลัง หรือสมอง โดยจะมีอาการแตกต่างกันไปตามบริเวณร่างกายที่เกิด เช่น ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลังหากวัณโรคลงกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยอาจมีเลือดในปัสสาวะหากวัณโรคลงไต  

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดวัณโรคปอดมีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคปอดมีหลายอย่าง เช่น

  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากมีโรคบางอย่างหรือเข้ารับการรักษาบางประเภท เช่น เป็นเอดส์ หรือ กำลังทำเคมีบําบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
  • เดินทางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคสูง
  • กำลังใช้สารบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ไม่มีบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ผู้ป่วยได้เข้าใช้บริการ
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค เช่น กำลังอาศัยอยู่หรือเคยทำงานในสถานพยาบาล หรือกำลังอาศัยอยู่ในหรืออพยพมาอยู่ในประเทศที่มีการติดเชื้อวัณโรคสูง หรือกำลังอาศัยอยู่กับผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค


อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของทางเดินอาหาร

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease,GERD)

เนื่องจากกรดไหลย้อนขึ้นไปที่บริเวณหลอดอาหาร อาจทำให้เกิดอาการเจ็บ แสบที่บริเวณหน้าอกข้างซ้ายได้ และแน่นอนว่ากรดไหลย้อนจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีน้ำรสเปรี้ยวในช่องปาก หรือหายใจมีเสียงหวีดๆ ถึงแม้กรดไหลย้อนอาจฟังดูไม่รุนแรงมากนัก แต่อาการกรดไหลย้อน อาจถึงชีวิตได้เช่นกัน

ความผิดปกติที่บริเวณหลอดอาหาร

ความผิดปกติที่หลอดอาหาร เช่น หลอดอาหารอักเสบ หรือฉีกขาด ทำให้มีเศษอาหารเข้าไปในช่องอก อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้

ไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatal Hernia)

เกิดจากความอ่อนแอของกล้ามเนื้อบริเวณกระบังลมทำให้อวัยวะอื่นๆสามารถเคลื่อนที่ผ่านกระบังลมไปยังส่วนอื่นได้

เจ็บหน้าอกข้่างซ้าย

เช่น กระเพาะของผู้ป่วยอาจเคลื่อนที่ไปบริเวณช่องอกผ่านกระบังลม ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ปวดท้อง อาเจียนและแสบร้อยกลางอก


อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากปัญหาสุขภาพของกล้ามเนื้อและกระดูก

  • การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อบริเวณอกหรือซี่โครง อาจเกิดซี่โครงอักเสบได้

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการเจ็บหน้าอก และ อาจปรากฏในคนหนุ่มสาวและวัยรุ่น เป็นบ่อยขึ้นในผู้หญิงหรือในผู้สูงอายุ อาการปวดมักจะหายไปหลังจากสองสามวัน ไม่ว่าจะเกิดจากการออกกำลังกาย อุบัติเหตุ หรือแม้แต่การไอแรงๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้เช่นกัน แต่จะหายไปเองเมื่อได้พักกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าว

อาการเจ็บหน้าอกนั้น อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจแต่อาจอันตรายไม่แพ้กันเลย ! แต่อาการเหล่านี้ก็คล้ายกันซะเหลือเกิน เราจะรู้ได้ยังไงล่ะ ?

หากใครมีอาการที่กังวลใจ กดเข้าไปที่แอปพลิเคชัน Agnos และเริ่มวิเคราะห์อาการเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ 24 ชม. โดย AI ปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกพัฒนาโดยทีมแพทย์และวิศวะกรชั้นนำ !

ยิ่งรู้ไว ยิ่งรักษาได้ หายไว และหากใครยังไม่สบายใจสามารถแชทคุยกับแพทย์ออนไลน์ได้ในแอปพลิเคชัน Agnos เช่นกัน !
ดาวน์โหลดทดลองใช้งานได้เลย  📲 https://agnoshealth.app.link/FFfeMvF1Nsb


แพทย์สาขาที่เกี่ยวข้อง

doctor-image
icon

0

icon

125

icon

0

สุทธิมา ทินกร

หมอปอด

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

3

icon

264

icon

0

พิชัย นำศิริกุล

หมอปอด

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

43

icon

0

พรพรรณ รัตนเจียเจริญ

หมอปอด

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

32

icon

0

ธนัญชัย เพชรนาค

หมอปอด

+ 1

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

51

icon

0

ภิญโญ หอศิลป์

หมอปอด

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

153

icon

0

ยงยุทธ์ พลอยส่องแสง

หมอปอด

+ 1

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

1

icon

0

วรกิจ เฉลิมสกุลรัตน์

หมอปอด

+ 1

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

23

icon

0

วิศิษฎ์ อุดมพาณิชย์

หมอปอด

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

23

icon

0

วุฒิชัย สุทธิถวิล

หมอปอด

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์

doctor-image
icon

0

icon

45

icon

0

สมเกียรติ วงษ์ทิม

หมออายุรกรรม

+ 1

location

ไม่มีข้อมูลโรงพยาบาลใกล้เคียง

ดูรายละเอียดแพทย์